
รับจดทะเบียนและขอใบอนุญาต มอก. สมอ. สคบ.
การจดทะเบียนและขอใบอนุญาต มอก. สมอ. สคบ. ต้องทำให้ถูกต้องทุกขั้นตอน โดยเฉพาะการขอนำเข้าหรือกรณีที่เป็นผู้ผลิต เพราะเป็นมาตรฐานบังคับตามกฎหมาย หากไม่ดำเนินการให้ถูกต้องจะมีความผิด เพราะถือว่ามีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน นอกจากนั้นยังต้องมีมาตรการในการรักษามาตราฐานการผลิตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ประกอบการหลายท่านไม่เข้าใจ และเลขจดทะเบียนมอก. สมอ. สคบ. ยังมีการแบ่งจำพวกและประเภทสินค้าจำนวนมาก บางครั้งเกิดความผิดพลาดว่าสินค้าใดบ้างต้องทำการจดมอก. สมอ. สคบ.
มอก. คืออะไร?
มอก.เป็นคำย่อมาจากมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หมายถึงข้อกำหนดทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด โดยการอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานจำนวน 2 แบบ คือ เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไปและเครื่องหมายมาตรฐานบังคับซึ่งคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก) ได้กำหนดหลักเกณฑ์การตรวจสอบเพื่อการรับจดมอก. มีหลักการ 2 ประการ คือ ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพเป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด และผู้ผลิตมีระบบการควบคุมคุณภาพเพียงพอที่จะรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานได้อย่างสม่ำเสมอ หากมีองค์ประกอบครบถ้วนก็สามารถยื่นจด มอก. ได้
เครื่องหมายมอก. หลักๆที่พบเห็นได้ทั่วไป
มอก.เป็นคำย่อมาจาก มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หมายถึงข้อกำหนดทางวิชาการที่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.)ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุดโดยการอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานมอก.จำนวน 2 แบบ คือ
1. เครื่องหมายมอก. แบบมาตรฐานทั่วไป
เครื่องหมายมอก.มาตรฐานทั่วไป เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่สมอ. กำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์นั้นไว้ ซึ่งผู้ผลิตจะยื่นขอการรับรองคุณภาพ (มาตรฐานทั่วไป) หรือไม่ยื่นขอการรับรองคุณภาพ (มาตรฐานทั่วไป) ก็ได้ กฎหมายไม่ได้บังคับให้ต้องจด มอก.เนื่องจากไม่มีผลกระทบถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้นการอนุมัติรับจด มอก.เป็นภาคสมัครใจ ไม่ใช่ภาคบังคับ สำหรับตัวอย่างสินค้าเครื่องหมายมอก.มาตรฐานทั่วไป เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร น้ำปลา ซอสปรุงรส กระเบื้องซีเมนต์ใยหินแผ่นเรียบ กรดซัลฟิวริกสำหรับแบตเตอรี่ชนิดตะกั่ว-กรดทปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เป็นต้น
2. เครื่องหมายมอก. แบบมาตรฐานบังคับ
เครื่องหมายมอก.แบบมาตรฐานบังคับ เป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานบังคับ ไม่จดมอก.ไม่ได้เพราะผิดกฎหมาย ดังนั้นการอนุมัติรับจด มอก.จึงเป็นภาคบังคับ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สิน อันมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยส่วนรวม และต้องมีเครื่องหมายมาตรฐานบังคับ แสดงไว้ที่สินค้าด้วย สำหรับตัวอย่างสินค้าเครื่องหมายมอก.มาตรฐานบังคับ เช่น หลอดไฟฟ้า สายไฟฟ้าหุ้มฉนวนพอลิไวนิลคลอไรด์ ท่อพีวีซีแข็งสำหรับใช้เป็นท่อน้ำดื่ม เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต เหล็กเส้นกลมบัลลาสต์สำหรับหลอดฟลูออเรสเซนซ์ เหล็กข้ออ้อย เป็นต้น
ประโยชน์ของการจดทะเบียนหรือขอใบอนุญาต มอก.
ประโยชน์ต่อผู้ผลิต
ผู้ผลิตที่ได้รับการจดมอก.แล้ว จะต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์เครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิต ดังนี้
1. ยกระดับมาตราฐานการผลิตสินค้าตามมาตราฐานการรับจดมอก.
2. ยกระดับมาตรฐานสินค้าทำให้เพิ่มโอกาสทางการค้ามากขึ้นทั้งภาคเอกชน และภาครัฐทั้งในและต่างประเทศ
3. ยกระดับความปลอดภัยในการผลิตสินค้าตามมาตรฐานการผลิตที่ดีตามมาตราฐานการรับจดมอก.
4. ยกระดับมาตรฐานการผลิตที่ดีตามมาตราฐานการรับจดมอก. ส่งผลให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ และลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อนทําให้สินค้ามีคุณภาพดีขึ้น และมีราคาถูกลง
5. ยกระดับมาตรฐานการผลิตที่ดีและสม่ำเสมอตามมาตราฐานการรับจดมอก. ที่ต้องมีมาตราการการผลิตที่ดีและสม่ำเสมอ
1. ยกระดับมาตราฐานการผลิตสินค้าตามมาตราฐานการรับจดมอก.
2. ยกระดับมาตรฐานสินค้าทำให้เพิ่มโอกาสทางการค้ามากขึ้นทั้งภาคเอกชน และภาครัฐทั้งในและต่างประเทศ
3. ยกระดับความปลอดภัยในการผลิตสินค้าตามมาตรฐานการผลิตที่ดีตามมาตราฐานการรับจดมอก.
4. ยกระดับมาตรฐานการผลิตที่ดีตามมาตราฐานการรับจดมอก. ส่งผลให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ และลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อนทําให้สินค้ามีคุณภาพดีขึ้น และมีราคาถูกลง
5. ยกระดับมาตรฐานการผลิตที่ดีและสม่ำเสมอตามมาตราฐานการรับจดมอก. ที่ต้องมีมาตราการการผลิตที่ดีและสม่ำเสมอ
ประโยชน์ต่อผู้บริโภค
1. ได้รับความคุ้มครองจากภาครัฐในการควบคุมดูแลมาตรฐานของผลิตภัณฑ์และมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
2. มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ถือเป็นการรับรองคุณภาพสินค้าอย่างหนึ่งที่ช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่ได้ทำการจดมอก.แล้ว
3. มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ถือเป็นคู่มืออย่างหนึ่งที่แสดงถึงคุณสมบัติและประโยชน์ใช้สอยของสินค้าที่เหมือนกันและใช้ทดแทนกันได้
4. มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ถือเป็นการรับรองคุณภาพสินค้าที่ดีและมีการกำหนดราคาที่เป็นธรรม
5. มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ถือเป็นการอ้างอิงคุณภาพสินค้าที่จะนำใช้ในต่างประเทศสำหรับการนำเข้า-ส่งออกได้ หรือเพื่อการส่งออกสินค้าและยื่นขออนุมัติรับจดมอก. ในต่างประเทศเพื่อการจำหน่ายสินค้าต่อไป
2. มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ถือเป็นการรับรองคุณภาพสินค้าอย่างหนึ่งที่ช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่ได้ทำการจดมอก.แล้ว
3. มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ถือเป็นคู่มืออย่างหนึ่งที่แสดงถึงคุณสมบัติและประโยชน์ใช้สอยของสินค้าที่เหมือนกันและใช้ทดแทนกันได้
4. มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ถือเป็นการรับรองคุณภาพสินค้าที่ดีและมีการกำหนดราคาที่เป็นธรรม
5. มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ถือเป็นการอ้างอิงคุณภาพสินค้าที่จะนำใช้ในต่างประเทศสำหรับการนำเข้า-ส่งออกได้ หรือเพื่อการส่งออกสินค้าและยื่นขออนุมัติรับจดมอก. ในต่างประเทศเพื่อการจำหน่ายสินค้าต่อไป
ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจส่วนรวมหรือประโยชน์ร่วมกัน
1. มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ถือเป็นมาตราฐานในระดับสากลที่ใช้อ้างอิงได้ทั่วโลกเพื่อการนำเข้า ส่งออกสินค้าไปจำหน่ายในต่างประเทศได้ หรือนำไปยื่นจดมอก. ในต่างประเทศได้ หรือนำเข้ามาเพื่อยื่นขอรับจด มอก.ในประเทศไทย
2. มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ถือเป็นการป้องกันสินค้าคุณภาพไม่ได้มาตรฐานและลักลอบนำเข้ามาจําหน่ายในประเทศ
3. มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ถือเป็นการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในภาคสาธารณสุขหรืออุตสาหกรรม
4. มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ถือเป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกันในมาตราฐานของสินค้าก่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันในการใช้งาน
5. มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ถือเป็นการยกระดับการใช้ทรัพยากร ทําให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด สร้างโอกาสทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย สร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมและเศรษฐกกิจของประเทศ
2. มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ถือเป็นการป้องกันสินค้าคุณภาพไม่ได้มาตรฐานและลักลอบนำเข้ามาจําหน่ายในประเทศ
3. มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ถือเป็นการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในภาคสาธารณสุขหรืออุตสาหกรรม
4. มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ถือเป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกันในมาตราฐานของสินค้าก่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันในการใช้งาน
5. มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ถือเป็นการยกระดับการใช้ทรัพยากร ทําให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด สร้างโอกาสทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย สร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมและเศรษฐกกิจของประเทศ
หลักเกณฑ์การตรวจสอบเพื่อขออนุญาตจด มอก.
คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก) ได้กำหนดหลักเกณฑ์การตรวจสอบเพื่อการอนุญาต ของ สมอ. มีหลักการ 2 ประการ คือ
- ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพเป็นไปตามที่มาตรฐานมอก. กำหนด
- ผู้ผลิตมีระบบการควบคุมคุณภาพเพียงพอที่จะรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานมอก. ได้อย่างสม่ำเสมอ
- ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพเป็นไปตามที่มาตรฐานมอก. กำหนด
- ผู้ผลิตมีระบบการควบคุมคุณภาพเพียงพอที่จะรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานมอก. ได้อย่างสม่ำเสมอ
หลักเกณฑ์การตรวจสอบเพื่อการอนุญาตจด มอก.ประกอบด้วย
- การดำเนินงานการตรวจสอบเพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตจด มอก.
- การตรวจติดตามภายหลังการออกใบอนุญาตจด มอก.
- การตรวจติดตามภายหลังการออกใบอนุญาตจด มอก.
ประเภทของการขอรับใบอนุญาตจด มอก.
- การขอรับใบอนุญาตมอก.ผลิตภายในประเทศเพื่อจัดจำหน่าย
- การขอรับใบอนุญาตมอก.นำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพื่อจัดจำหน่าย
- การขอรับใบอนุญาตมอก.นำเข้าเฉพาะครั้ง ขอได้เฉพาะบางผลิตภัณฑ์ตามที่หลักเกณฑ์เฉพาะกำหนดไว้เท่านั้น
- การขอรับใบอนุญาตมอก.นำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพื่อจัดจำหน่าย
- การขอรับใบอนุญาตมอก.นำเข้าเฉพาะครั้ง ขอได้เฉพาะบางผลิตภัณฑ์ตามที่หลักเกณฑ์เฉพาะกำหนดไว้เท่านั้น
เงื่อนไขหลักเกณฑ์เฉพาะในการตรวจสอบเพื่อการอนุญาตจด มอก.ต้องพิจาณาหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
- การขึ้นทะเบียนโรงงาน
- โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพ
- การตรวจรับวัตถุดิบ
- การจัดเก็บวัตถุดิบ
- ขั้นตอนการผลิต
- การควบคุมการผลิต
- การตรวจคุณภาพในขบวนการผลิต
- การตรวจคุณภาพก่อนการส่งมอบ
- การบรรจุภัณฑ์
- การอบรมบุคลากร
- การควบคุมเครื่องมือวัดและทดสอบที่ใช้ในขบวนการผลิต
- โรงงานผลิตที่ปฏิบัติตามมาตรฐาน ISO 9000
ผู้ผลิต หรือ ผู้นำเข้า (Importer) ที่ต้องการใช้ตรา มอก. สามารถดูได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานมาตรฐานกระทรวงอุตสาหกรรม www.tisi.go.th และ หนังสือมาตรฐาน มอก.
- โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพ
- การตรวจรับวัตถุดิบ
- การจัดเก็บวัตถุดิบ
- ขั้นตอนการผลิต
- การควบคุมการผลิต
- การตรวจคุณภาพในขบวนการผลิต
- การตรวจคุณภาพก่อนการส่งมอบ
- การบรรจุภัณฑ์
- การอบรมบุคลากร
- การควบคุมเครื่องมือวัดและทดสอบที่ใช้ในขบวนการผลิต
- โรงงานผลิตที่ปฏิบัติตามมาตรฐาน ISO 9000
ผู้ผลิต หรือ ผู้นำเข้า (Importer) ที่ต้องการใช้ตรา มอก. สามารถดูได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานมาตรฐานกระทรวงอุตสาหกรรม www.tisi.go.th และ หนังสือมาตรฐาน มอก.
ขั้นตอนการดำเนินงานขอจด มอก.สำหรับผู้ผลิตในประเทศ
- ขออนุญาตผลิตจากกระทรวงอุตสาหกรรม
- จัดเตรียมตัวอย่างเพื่อการทดสอบ (สมอ. จะกำหนด ห้อง Lab. ที่ใช้ทดสอบ)
- จัดเตรียมการตรวจโรงงานครั้งแรก
- ออกใบอนุญาตให้ทำการผลิตและใช้ตรา มอก. บนผลิตภัณฑ์
- โดยผู้ผลิตต้องรับผิดชอบใน ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เช่น การทดสอบ ใบอนุญาตการผลิต ค่าเดินทาง ค่าตรวจโรงงานผลิตครั้งแรก ค่าตรวจติดตามผลโรงงานผลิตในปีถัดไป
- จัดเตรียมตัวอย่างเพื่อการทดสอบ (สมอ. จะกำหนด ห้อง Lab. ที่ใช้ทดสอบ)
- จัดเตรียมการตรวจโรงงานครั้งแรก
- ออกใบอนุญาตให้ทำการผลิตและใช้ตรา มอก. บนผลิตภัณฑ์
- โดยผู้ผลิตต้องรับผิดชอบใน ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เช่น การทดสอบ ใบอนุญาตการผลิต ค่าเดินทาง ค่าตรวจโรงงานผลิตครั้งแรก ค่าตรวจติดตามผลโรงงานผลิตในปีถัดไป
อายุของใบอนุญาตจด มอก.
ใบอนุญาตการผลิตจะมีผลตลอดไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในเนื้อหามาตรฐานนั้นๆ และเจ้าหน้าที่ สมอ. จะแจ้งให้ผู้ผลิตทราบล่วงหน้า
การตรวจติดตามผล
เจ้าหน้าที่ สมอ. จะมีการตรวจติดตามผลโรงงานผลิต เริ่มจากปีถัดไป ปีละครั้ง โดยผู้ผลิตต้องรับผิดชอบใน ค่าตรวจติดตามผลโรงงานผลิตในปีถัดไป
โทรมาสอบถามข้อมูลก่อนได้ เรายินดีให้บริการค่ะ
- ติดต่อเรา
-
Head Office :
- 139 ซ.พิบูลสงคราม 22 แยก 16
- ต.บางเขน อ.เมือง
- จ.นนทบุรี 11000
-
ติดต่อ : 0926264591
-
ip@carsonandchain-ip.com
- เวลาทำการ
- Opening Day :
- วันจันทร์ – วันศุกร์ : 8am to 6pm
- Saturday : 9am to 5pm
- Vacation :
- All Sunday Day
- All Vacation Holiday
- Our Team
-
พิเชษฐ์ ไชยกูร
-
MR.Barry Carson Smith
-
ภาณุพงษ์ บัวมารต
-
สายัญ ดำรงคดีราษฎร์
-
กิติยา ยองใหญ่
-
ทัตเทพ รติภูมิ